
จังหวัดพิษณุโลกจังหวัดไม่ใหญ่ทางตอนเหนือของประเทศไทยก่อนหน้านี้ก็เป็นจังหวัดทางผ่านแทบไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวใดๆ เกิดขึ้นแต่พออยู่ในแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกก็เริ่มมีความคึกคักขึ้นมาทันที
แนวเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาในจังหวัดพิษณุโลก เฟสที่ 1 ช่วงมหาวิทยาลัยนเศวร – เซ็นทรัลพิษณุโลกระยะทางรวม 12.6 กิโลเมตรจำนวน 15 สถานี งบประมาณในการพัฒนาอยู่ที่ประมาณ 1,666.76 ล้านบาทงบประมาณไม่สูงเพราะเป็นโครงสร้างระดับดินโดยทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังศึกษาแผนแม่บทของเส้นทางอยู่จากนั้นขั้นตอนการขออนุมัติรูปแบบการลงทุนในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 – มีนาคม พ.ศ.2565
จากนั้นคัดเลือกเอกชนเข้ามาลงทุนในระบบ PPP ภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2565 – กันยายน พ.ศ.2566และเริ่มการก่อสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ.2566 – พฤศจิกายน พ.ศ.2569ตามกำหนดการณ์ที่วางไว้จะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม พ.ศ.2569

ปิดท้ายกันที่จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่เป็นอีก 1 จังหวัดที่น่าสนใจทางภาคเหนือเป็นทั้งเมืองเศรษฐกิจ และเมืองท่องเที่ยวดังนั้น ไม่แปลกที่ภาคเอกชน และหน่วยงานท้องถิ่นจะผลักดันให้เกิดเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาและ
มีถึง 3 เส้นทางด้วยกัน คือ 1.สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี 2.สายสีน้ำเงิน ช่วงสวนสัตว์เชียงใหม่ – แยกศรีบัวเงินพัฒนา 3.สายสีเขียว ช่วงแยกรวมโชคมีชัย – ท่าอากาศยานเชียงใหม่
สำหรับรูปแบบโครงการขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ นั้นเป็นระบบรถรางไฟฟ้า เส้นทางเป็นแบบระดับดิน และใต้ดินโดยจะเริ่มการก่อสร้างสายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ – แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ก่อนเป็นเส้นทางแรกจำนวนสถานีมีทั้งหมด 16 สถานีเป็นสถานีระดับดิน 9 สถานี และใต้ดินอีก 7 สถานีระยะทางรวมประมาณ 16 กิโลเมตร
งบประมาณในการก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 27,000 ล้านบาทรายงาน PPP จะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ.253 จากนั้นนำเสนอให้คณะกรรมการของรฟม. กระทรวงคมนาคม บอร์ด PPP และคณะรัฐมนตรีเป็นลำดับภายในปีพ.ศ.2564ปีพ.ศ.2565 คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างและเปิดให้บริการปีพ.ศ.2570 แต่ ณ ตอนนี้ก็คงเลื่อนไปก่อนแน่นอน

แหล่งที่มา แฟนเพจ Property DNA